วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

ประวัติศาสตร์แห่งอนิเมะ : หนทางจากอดีตสู่ปัจจุบัน

history.jpg

บทความนี้ขอพาเพื่อนๆผู้อ่านทั้งหลาย ย้อนกลับไปสู่ยุคอดีตตั้งแต่อนิเมะเรื่องแรกของญี่ปุ่นถือกำเนิด มาจนถึงอนิเมะในปัจจุบันที่หลายๆคนรู้จักกันดี ถ้าพร้อมแล้ว ตั้งสมาธิแล้วลุยกันเลยเพราะมันมีข้อมูลเพียบ!!

ป.ล. มาแก้ไขโดยเพิ่มเรื่อง โดราเอมอน อิคคิวซัง และดราก้อนบอลครับ

ยุคบุกเบิก (1960s)
การทำภาพยนต์ที่มีคนแสดงในประเทศญี่ปุ่นนั้นมักจะมีงบประมาณในการทำไม่สูง นัก ทำให้คนญี่ปุ่นต้องหันมาใช้การวาดการ์ตูนหรืออนิเมะเข้ามาทดแทนเรื่องของงบ ประมาณที่จำกัด เพื่อจะสร้างเนื้อเรื่องและฉากต่างๆตามต้องการโดยไม่ต้องสร้างฉากนั้นๆขึ้น มาจริงๆ ดังนั้นจะเห็นว่าผู้สร้างสามารถจะใช้จินตนาการในการคิดเรื่องได้เต็มที่โดย ไม่ต้องไปติดข้อจำกัดเรื่องงบประมาณเลย และนี่ก็คือหนึ่งในเหตุผลที่ทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงมีการพัฒนาเรื่องของอนิ เมะมาอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

hakujaden.jpg

Hakujaden - The Tale of the White Serpent

อนิเมะสีเรื่องแรกของญี่ปุ่นนั้นมีชื่อว่า ฮาคุจาเด็น (นางพญางูขาว , 1958) เป็นอนิเมะที่มีการวาดคล้ายๆแอนิเมชั่นของดิสนีย์ ซึ่งเป็นผลงานของ โตเอะแอนิเมชั่น ซึ่งเป็นผู้สร้างอนิเมะอันโด่งดังมากมาย เช่น ดราก้อนบอล เซเลอร์มูน และวันพีซ เป็นต้น

hols.jpg

Hols : Prince of the Sun

อย่างไรก็ตามอนิเมะเรื่องแรกที่มีการฉีกสไตล์ให้แตกต่างจากแอนิเมชั่นของดิสนีย์ก็คือเรื่อง โฮลุส เจ้าชายแห่งดวงอาทิตย์ (Hols , Prince of the Sun , 1968) ผลงานของ อิซาโอะ ทากาฮาตะ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นผลงานของโตเอะเข่นกัน และยังเป็นอนิเมะที่มีอนาคตผู้กำกับฝีมือดีอย่าง ฮายาโอะ มิยาซากิ มาทำหน้าที่เป็นอนิเมเตอร์ และยังได้รับการยอมรับว่าเป็นอนิเมะที่มีสไตล์การวาดเป็นต้นแบบของอนิเมะในปัจจุบันอีกด้วย

atom.jpg

Astroboy

ต่อมา อ.เทะซึกะ โอซามุ ก็ได้ก่อตั้งบริษัททำอนิเมชั่นขึ้นมาแข่งกับโทเอย์บ้างชื่อว่า มูชิโปรดักชั่น และในปี ค.ศ.1963 ก็ได้ส่ง เจ้าหนูปรมาณู ซึ่งถือว่าเป็นอนิเมะที่ฉายทางทีวีเรื่องแรกที่ได้รับความนิยมอย่างสูง หลายๆคนคิดว่านี่คืออนิเมะที่ฉายทางโทรทัศน์เรื่องแรก แต่แท้ที่จริงแล้วอนิเมะที่ฉายทางโทรทัศน์เรื่องแรกในรูปแบบมูวี่ก็คือ เรื่อง ทรีเทลส์ (1960) ส่วนเรื่องแรกที่ฉายแบบทีวีซีรีส์ คือ เรื่อง โอโตกิ มังกะ คาเลนดา (1961) ต่างหาก

ช่วงปี 1970s
ในช่วงนี้มีการแข่งขันอย่างรุนแรงจากวงการโทรทัศน์ส่งผลให้อุตสาหกรรมภาพ ยนต์ญี่ปุ่นหดตัวลง ส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงานของโตเอะลง และบางส่วนก็แยกตัวออกไปบริษัทอื่น ส่วนมูชิโปรดักชั่นก็ต้องล้มละลาย พนักงานเก่าจึงออกไปก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาสองแห่ง ซึ่งได้ผลิตงานอนิเมะคุณภาพออกมามากมายในปัจจุบัน นั่นก็คือ แม้ดเฮาส์โปรดักชั่น (Madhouse) ( Beck , Di Gi Charat ,คาร์ดแคปเตอร์ซากุระ , Perfect Blue ) และ ซันไรส์ (กันดั้ม , ซิตี้ฮันเตอร์ , ไมฮิเมะ , Code Geass )

doraemon.jpg

ในช่วงนี้ยังมีอนิเมะอมตะในหัวใจใครหลายๆคนอย่างเรื่อง โดราเอมอน (1973) ซึ่งมีเนื้อเรื่อวหลักมาจากหนังสือการ์ตูนเกิดขึ้นด้วย

ikkyu.jpg

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา ( 1975) การ์ตูนที่นำมาฉายบ้านเราซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้กี่รอบ

gundam.jpg

Mobile Suit Gundam

และยังมีการเกิดขึ้นของอนิเมะแนวหุ่นยนต์ เช่น Mazinger Z (1972) , Space Battleship Yamato (1974) และ Mobile Suit Gundam (1979) ขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของอนิเมะแนวไซ-ไฟ จากเดิมที่จะออกไปทางซุปเปอร์ฮีโร่ได้กลายมาเป็นแนวที่สมจริงมากขึ้นอย่าง เช่นแนวอวกาศซึ่งมีแนวเรื่องที่ซับซ้อนและเริ่มเป็นการยากที่จะตัดสินอย่าง ชัดเจนว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ถูกสิ่งใดผิดกันแน่
ซึ่งเรื่อง Mobile Suit Gundam (1979) ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในตำนวนของวงการอนิเมะเลยทีเดียว เพราะเป็นซีรีส์ที่ได้รับความนิยมและมีการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับกัน ดั้มต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงปี 1980s

yamato.jpg

Space Battleship Yamato Movie ver.

ด้วยความนิยมของภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ทำให้อนิเมะแนวอวกาศได้รับความนิยมมากขึ้นไปอีก ส่งผลให้มีการนำเอาอนิเมะเรื่อง เรือรบอวกาศยามาโตะ (Space Battleship Yamato) กลับมาทำใหม่ในรูปแบบอนิเมะที่ฉายในโรงภาพยนตร์ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “ยุคทองคำแห่งอนิเมะ” เลยทีเดียว

ในช่วงนี้เองที่ประเทศอเมริกาก็ได้มีการนำอนิเมะชื่อดังไปดัดแปลงเป็นแอ นิเมชั่นของตัวเองหลายต่อหลายเรื่อง เช่น Robotech ที่ดัดแปลงมาจากเรื่อง มาครอส ของญี่ปุ่นเป็นต้น

จากเหตุการณ์ยุคทองของอนิเมะนี้เองก่อให้เกิดกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า โอตาคุ ขึ้นมา และส่งผลให้มีนิตยสารอนิเมะอย่าง Animage และ Newtype ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของแฟนๆอีกด้วย

daicon4.jpg

Daicon IV

นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดกลุ่มผู้สร้างการ์ตูนมือสมัครเล่น ( แต่ฝีมือไม่ใช่เล่น ) อย่างกลุ่มที่มีชื่อว่า Daicon Film ซึ่งมีผลงานที่ได้รับการจับตามองเรื่องแรกๆก็คือการทำอนิเมะที่มีชื่อว่า Daicon III (1981) และ Daicon IV สำหรับงานเทศกาล Japan National SF Convention ซึ่งได้รับความนิยมจากกลุ่มโอตาคุเป็นอย่างมาก ต่อมากลุ่ม Daicon Film ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Studio Gainax สตูดิโอสุดแนวที่สร้างผลงานแปลกตาซึ่งโดนใจคนทั่วโลกอย่าง Evangelion , FLCL และ Gurren Lagann เป็นต้น

nausicaa.jpg

Nausicaä of the Valley of the Wind

ในช่วงนี้ก็ได้มีการสร้างอนิเมะชั้นเยี่ยมเรื่อง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984) ขึ้นมา ซึ่งเรื่องนี้เป็นอนิเมะที่ทำให้ ฮายาโอะ มิยาซากิ โด่งดัง และเป็นต้นกำเนิดของการก่อตั้งสตูดิโอในดวงใจของคนหลายๆคนอย่าง Studio Ghibli ( Laputa , Totoro , Princess Mononoke , Spirited Away ) ขึ้นมาในภายหลัง

ในช่วงนี้ยังมีการเกิดขึ้นของ OVA ขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้เริ่มสามารถใช้ภาพที่มีเนื้อหาล่อแหลมในอนิเมะได้มากขึ้น

dragonball.jpg

ในช่วงนี้ก็มีการนำหนังสือการ์ตูนชื่อดังอย่าง ดราก้อนบอล ( 1986) มาทำอนิเมะด้วย

จากความสำเร็จอย่างสูงของ Nausicaa ส่งผลให้มีความพยายามที่จะสร้างอนิเมะแบบมูวี่มากขึ้น และต่างก็มีการใช้งบประมาณที่สูงขึ้นในการสร้าง ซึ่งเรื่องที่ใช้งบประมาณมหาศาลที่สุดสองเรื่องในขณะนั้นก็คือ Royal Space Force: The Wings of Honneamise ( Gainax 800 ล้านเยน , 1987) และ Akira ( ร่วมทุนหลายบริษัท 1100 ล้านเยน ,1988)

wing.jpg

The Wings of Honneamise

akira.jpg

Akira แต่ดูเหมือนว่าอะไรอะไรจะไม่เป็นไปอย่างที่คิด เมื่ออนิเมะทั้งหลายทำรายได้ไม่ดีนักในประเทศญี่ปุ่น ไม่เว้นแม้แต่ 2 เรื่องข้างต้น ส่งผลให้มีสตูดิโอจำนวนมากต้องปิดตัวลง ดูเหมือนว่าจะมีก็แต่ Studio Ghibli เท่านั้นที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำแต่เพียงผู้เดียว
ถึงแม้ว่า Akira จะไม่ประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่นเอง แต่มันกลับเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ จนได้ชื่อว่าเป็น อนิเมะที่ดีที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา เลยทีเดียว

ช่วงปี 1990s

eva01.jpg

Neon Genesis Evangelion

ในปี 1995 ฮิเดอากิ อันโนะ ผู้ก่อตั้ง Studio Gainax ได้เขียนและกำกับอนิเมะเรื่อง Neon Genesis Evangelion ขึ้นมาซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในประเทศญี่ปุ่นเองและในต่างประเทศ อนิเมะเรื่องนี้ก่อให้เกิดการโต้เถียงหลายๆอย่าง เนื่องด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยปริศนาและคำโกหก อีกทั้งยังมีตอนจบที่แปลกหลุดโลกจนแฟนๆหลายคนรับไม่ได้ และมีการเรียกร้องให้อันโนะทำตอนจบขึ้นมาใหม่ (บางรายร้ายแรงถึงขนาดเขียนจดหมายขู่ฆ่าเลยก็มี) อันโนะจึงตัดสินใจทำ The End of Evangelion ขึ้นมาเป็นตอนจบอีกแบบหนึ่งของเรื่องนี้ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างมากจนได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก

หลังจากการประสบความสำเร็จอย่างมากของ Evangelion ส่งผลให้มีอนิเมะแนวชวนปวดหัวออกมาจำนวนมาก เช่น Serial Experiments Lain (1998) และ RahXephon (2002)

ในช่วงปี 90s ยังเป็นช่วงรุ่งโรจน์ของอนิเมะที่สร้างจากเกมอย่าง Pokemon ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากเด็กๆทั่วโลก จนเกิดเหตุการณ์ที่เป็นข่าวไปทั่วโลกว่าเกิด เหตุการณ์เด็กเกิดอาการช๊อคเนื่องจากดูอนิเมะเรื่องโปเกมอน (ตอน ทหารไฟฟ้าไพโรกอน) ซึ่งมีฉากการปล่อยแสงกระพิบซ้ำๆจำนวนมาก จนต้องมีการปรับเปลี่ยนเอฟเฟคให้ปลอดภัยมากขึ้น

ช่วงปี 2000s
อนิเมะในยุคนี้มีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิคเข้ามาช่วยพัฒนาคุณภาพของอนิเมะ กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอนิเมะที่มีพวกหุ่นยนต์ หรือเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้การเคลื่อนไหวลื่นไหลขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยลดเวลาการทำงานให้น้อยลงอีกด้วย เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลให้นั้นมันง่ายและสะดวกกว่าวาดด้วย มือเยอะ

ในช่วงนี้อนิเมะทั้งหลายถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาใจเหล่าโอตาคุมากขึ้น อนิเมะที่ฉายตอนดึกหลายๆเรื่องมีฉากแฟนเซอร์วิซจำนวนมาก และหลายเรื่องก็สร้างมาจากเกมโป๊อีกด้วยแต่ก็ได้มีการตัดฉากที่ไม่เหมาะสมอ อกไป เช่น Kanon , Air และ Shuffle! เป็นต้น

haruhi.jpg

Melancholy of Haruhi Suzumiya

ในช่วงนี้มีอนิเมะที่ใช้เทคนิคการสร้างความแปลกประหลาดใจอย่าง การสลับลำดับการออกอากาศของเรื่อง Suzumiya Haruhi no Yuutsu ( Kyoto Animation ,2006 ) ซึ่งส่งผลให้เกิดการพูดถึงอย่างกว้างขวาง รวมถึงความนิยมในการเต้น Hare Hare Yukai Dance ซึ่งเป็นการเต้นตามเพลงจบของเรื่องนี้ในเว็บไซต์อย่าง Youtube ก็ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างสีสันต่อวงการอนิเมะเป็นอย่างมาก

code-geass-lelouch-of-the-rebellion.jpg

Code Geass

gurren.jpg

Tengen Toppa Gurren Lagann

ในช่วงหลังนี้ก็มีอนิเมะที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย เช่น Gundam หลายๆภาค (Sunrise) , Code Geass (Sunrise) , Gurren Lagann (Gainax) , Lucky Star ( Kyoto Animation ) และเรื่องอื่นๆอีกมากมายในดวงใจหลายๆคน

อนาคตของแวดวงอนิเมะต่อจากนี้จะเป็นเช่นไร พวกเราจะได้ร่วมกันเป็นพยานของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปครับ!!

เรียบเรียงจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_anime

ไม่มีความคิดเห็น: